SUMMARY OF THE RULES OF CAMELOT

In the Thai Language

 

Text and Diagrams © 1999-2009 Michael Wortley Nolan and the World Camelot Federation

Translation courtesy of Wellesley In Translation, Corresponding Translator: Pasinee Panitnantanakul, Translators: Naranidh Punmeechaow, Pariya Sripakdeevong, Premika Vongcharoenrat, and Satomi Ginoza.

 

(Please note that what follows is the translation of a general summary of Camelot rules; it is not a translation of the World Camelot Federation Official Rules of Camelot.)

 

หมากปราสาท หรือ “Camelot” เป็นเกมที่มีผู้เล่นสองฝ่ายสลับกันเดินบนกระดานขนาด 160 ช่องดังรูป ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องปกป้องปราสาทที่อยู่ในสองช่องสุดกระดานฝั่งตนเอง เกมเริ่ม โดยผู้เล่นแต่ละฝ่ายมีตัวหมากฝ่ายละ 14 ตัว เป็นอัศวินสี่ตัวและเบี้ยสิบตัว

ตำแหน่งเริ่มต้น

 

 การเดินหมากในเกมนี้มีสี่แบบ

 

1. การเดิน: ตัวหมาก (จะเป็นอัศวินหรือเบี้ยก็ได้) สามารถเดินหนึ่งก้าวไปยังช่องถัดไปในทิศทางตรง หรือทแยงมุม

การเดิน

   

2. การกระโดด: ตัวหมาก (จะเป็นอัศวินหรือเบี้ยก็ได้) สามารถกระโดดข้ามตัวหมากของฝ่ายตนเอง ที่อยู่ติดกันไปยังช่องถัดไปได้ โดยตัวหมากที่ถูกกระโดดข้ามจะไม่ถูกเก็บไปจากกระดาน ผู้เล่น สามารถกระโดดข้ามตัวหมากหลายตัวในตาเดียวกันได้ แต่จะเริ่มและจบการกระโดดที่ช่องเดียว กันไม่ได้ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะกระโดดหรือไม่ก็ได้

     

การกระโดด                                           หลังจากกระโดดแล้ว

   

3. การกิน: ตัวหมาก (จะเป็นอัศวินหรือเบี้ยก็ได้) สามารถกินตัวหมากของฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ถัดไป โดยการกระโดดข้ามตัวหมากตัวนั้นไปยังช่องถัดไปได้ ตัวหมากศัตรูที่ถูกกินจะถูกเก็บออกจาก กระดาน เมื่อตัวหมากมาอยู่ติดกับตัวหมากฝ่ายตรงข้ามผู้เล่นจะต้องกินโดยไม่มีสิทธิ์เลือก ถ้ากิน ไปแล้วไปอยู่ข้างตัวหมากของอีกฝ่ายอีกครั้งจะต้องกินอีกที ถ้ามีตัวหมากหลายตัวที่สามารถกิน ตัวหมากฝ่ายตรงข้ามได้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ตัวหมากตัวใดกิน เมื่อถูกบังคับให้กินผู้เล่น สามารถเลือกกินด้วย “การโจมตีของอัศวิน” แทนได้ ผู้เล่นสามารถเลือกไม่กินได้ก็ต่อเมื่อในตา ที่แล้วได้กินตัวหมากฝ่ายตรงข้ามแล้วเข้าไปยังปราสาทของตนเอง ทำให้ในตาต่อไปผู้เล่นต้องเอา ตัวหมากนั้นออกจากปราสาททันที

     

การกิน                                                     หลังกินไปแล้ว

 

4. การโจมตีของอัศวิน: อัศวินสามารถ “โจมตี” โดยการกระโดดข้ามตัวหมากฝ่ายตนเองและต่อด้วย การกินตัวหมากฝ่ายตรงข้ามในตาเดียวกันได้ โดยต้องกระโดดก่อนกิน อัศวินสามารถเลือกที่จะ โจมตีหรือไม่ก็ได้ ถ้ากระโดดแล้วมาหยุดอยู่ข้างตัวหมากศัตรูซึ่งสามารถถูกกินได้อัศวินจะต้อง กินตัวหมากตัวนั้นยกเว้นแต่ว่าจะกินตัวหมากศัตรูอีกตัวหนึ่งได้ในภายหลังในตาเดียวกัน ถ้ากิน ตัวหมากศัตรูไปแล้วไปอยู่ข้างตัวหมากศัตรูอีกครั้งอัศวินจะต้องกินอีกที

     

การโจมตีของอัศวิน                              หลังจากโจมตีไปแล้ว

 

ผู้เล่นจะเดินหรือกระโดดเข้าไปในปราสาทของตนเองไม่ได้ จะเข้าไปได้โดยการกินหรือการ กินในการโจมตีของอัศวินเท่านั้น ผู้เล่นที่กินตัวหมากฝ่ายตรงข้ามแล้วเข้าไปในปราสาทของตนเอง จะต้องกินอีกครั้งเพื่อออกมาทันทีถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ในตาเดียวกันจะต้องออกมาในตาต่อไปโดย ไม่มีข้อยกเว้น โดยต้องออกมาโดยการกินถ้าทำได้แทนที่จะเดินหรือกระโดดออกมา

 

ตัวหมากที่ได้เข้าไปในปราสาทของฝ่ายตรงข้ามแล้วจะไม่สามารถออกมาได้ ได้แต่เดินจาก ปราสาทช่องหนึ่งไปอีกช่องหนึ่ง โดยสามารถทำได้แค่สองครั้งในหนึ่งเกม

 

ผู้เล่นสามารถชนะเกมนี้ได้โดยสามทางด้วยกัน

 

1. ถ้าผู้เล่นเดินตัวหมากสองตัวเข้าไปในปราสาทของฝ่ายตรงข้ามได้

สีขาวชนะสีดำโดยการเดินหมากสองตัวเข้าไปในปราสาทของสีดำ

 

2. ถ้าผู้เล่นสามารถกินตัวหมากของฝ่ายตรงข้ามได้หมดทุกตัว และยังเหลือตัวหมากของตนเองอยู่ อย่างน้อยสองตัว

สีขาวชนะสีดำโดยการกินตัวหมากสีดำได้ทั้งหมด

  

3. ถ้าผู้เล่นเหลือตัวหมากอย่างน้อยสองตัวและฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเดินไปไหนได้แล้ว

สีขาวชนะเพราะสีดำไม่มีทางเดินต่อแล้ว

 

เกมจะเสมอเมื่อผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต่างเหลือตัวหมากอยู่มากสุดแค่ตัวเดียว

การเสมอ